สงครามอิรัก

สงครามอิรัก

หัวข้อแนะนำ

สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546[8][9] ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักรซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์เป็นผู้นำ สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก , สงครามอ่าวครั้งที่สอง หรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แม้ความรุนแรงประปรายยังมีต่อไปทั่วประเทศ

สงครามอิรัก (ต่อ)

สงครามอิรัก ก่อนหน้าการรุกราน รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประเมินว่า ความเป็นไปได้ที่อิรักจะครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงคุกคามความมั่นคงของตนและพันธมิตรของตนในภูมิภาค พ.ศ. 2545 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเปรมปรีงามปั่งผ่านข้อมติที่ 1441 ซึ่งกำหนดให้อิรักร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้ตรวจการอาวุธสหประชาชาติเพื่อตรวจสอบว่า อิรักมิได้มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงและขีปนาวุธร่อนอยู่ในครอบครอง คณะตรวจสอบอาวุธทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (United Nations Monitoring, Verification and Inspection Commission – UNMOVIC) ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอิรักภายใต้ข้อกำหนดของมติสหประชาชาติ

แต่ไม่พบหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง หากมิได้ดำเนินการตรวจสอบอีกหลายเดือนเพื่อพิสูจน์เป็นการสรุปถึงความร่วมมือของอิรักกับข้อกำหนดการปลดอาวุธสหประชาชาติ หัวหน้าผู้ตรวจสอบอาวุธ ฮันส์ บลิกซ์ เสนอคณะมนตรีความมั่นคงฯ ว่า แม้ความร่วมมือของอิรักนั้น “มีอยู่” แต่มิได้ “ปราศจากเงื่อนไข” และมิได้ “ทันทีทันใด” แถลงการณ์ของอิรักเกี่ยวข้องกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ในขณะนั้น แต่งานที่เกี่ยวขอ้งกับการปลดอาวุธอิรักสามารถเสร็จสิ้น “ไม่ใช่ปี ไม่ใช่สัปดาห์ แต่เป็นเดือน”

สงคราม อิรัก (ต่อ)

หลังการรุกราน กลุ่มศึกษาอิรัก (Iraq Survey Group) นำโดยสหรัฐสรุปว่าอิรักได้ยุติโครงการนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพใน พ.ศ. 2534 และไม่มีโครงการใดดำเนินอยู่ในขณะการรุกราน แต่อิรักเจตนาจะเริ่มการผลิตอีกเมื่อมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิกแม้จะพบเศษอาวุธเคมีที่ถูกปลดอยู่ผิดที่หรือถูกทิ้งจากสมัยก่อน พ.ศ. 2534 แต่ก็มิใช่อาวุธซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการอ้างความชอบธรรมในการรุกราน เจ้าหน้าที่สหรัฐบางคนยังกล่าวหาประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ว่าปิดบังและให้การสนับสนุนอัลกออิดะฮ์ แต่ไม่เคยพบหลักฐานเชื่อมโยงที่มีความหมายเลย เหตุผลอื่นในการรุกรานที่ให้โดยรัฐบาลของประเทศผู้โจมตีนั้นรวมไปถึง การให้การสนับสนุนทางการเงินของอิรักแก่ครอบครัวมือระเบิดพลีชีพปาเลสไตน์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอิรัก และความพยายามเผยแพร่ประชาธิปไตยสู่อิรัก

สงคราม อิรัก (ต่อ)

การรุกรานอิรักนำไปสู่การยึดครองและการจับกุมตัวประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนในท้ายที่สุด ซึ่งภายหลังถูกพิจารณาโดยศาลอิรักและประหารชีวิตโดยรัฐบาลใหม่ของอิรัก ความรุนแรงต่อกองกำลังผสมและระหว่างกลุ่มนิกายต่าง ๆ ได้นำไปสู่การก่อความไม่สงบในอิรักในเวลาไม่นาน การต่อสู้ระหว่างกลุ่มอิรักนิกายซุนนีย์และชีอะฮ์หลายกลุ่ม และการเกิดกลุ่มแยกใหม่ของอัลกออิดะฮ์ขึ้นในอิรัก ใน พ.ศ. 2551 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติรายงานว่า มีประเมินผู้ลี้ภัย 4.7 ล้านคน (ประมาณ 16% ของประชากร) โดยมี 2 ล้านคนหนีออกนอกประเทศ (สถิติใกล้เคียงกับการคาดคะเนของซีไอเอ) และประชาชนพลัดถิ่นในประเทศ 2.7 ล้านคน[32] ใน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันของอิรักรายงานว่า เด็กอิรัก 35% หรือเกือบห้าล้านคน กำพร้า กาชาดแถลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ว่า สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในอิรักยังอยู่ในระดับวิกฤตที่สุดในโลก โดยมีชาวอิรักหลายล้านคนถูกบีบให้พึ่งพาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอและคุณภาพต่ำ

สงคราม อิรัก (ต่อ)

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอ้างว่า ตัวบ่งชี้ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจเริ่มแสดงให้เห็นสัญญาณของการพัฒนาซึ่งพวกเขาเรียกว่าเป็นการมีชัยสำคัญและละเอียดอ่อน ใน พ.ศ. 2550 อิรักอยู่ในอันดับสองของดัชนีรัฐที่ล้มเหลว แม้อันดับค่อยพัฒนาขึ้นนับแต่นั้น โดยเป็นอันดับที่ห้าในรายการ พ.ศ. 2551, ที่หกใน พ.ศ. 2552 และที่เจ็ดใน พ.ศ. 2553 เมื่อความเห็นสาธารณชนที่สนับสนุนให้ถอนกำลังเพิ่มขึ้นและเมื่อกองทัพอิรักเริ่มรับผิดชอบต่อความมั่นคง ชาติสมาชิกกำลังผสมก็ได้ถอนกำลังออก[37][38] ปลาย พ.ศ. 2551 รัฐบาลสหรัฐและอิรักอนุมัติความตกลงว่าด้วยสถานภาพกองกำลังซึ่งจะมีผลหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555[39] รัฐสภาอิรักยังให้สัตยาบันความตกลงกรอบยุทธศาสตร์กับสหรัฐ[40] โดยมุ่งประกันความร่วมมือในสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การขจัดภัยคุกคาม การศึกษา การพัฒนาพลังงาน และด้านอื่น ๆ

สงคราม อิรัก (ต่อ)

สงครามอิรัก ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีสหรัฐที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ บารัก โอบามา ประกาศหน้าต่างถอนกำลังรบ 18 เดือน โดยคงทหารอย่างน้อย 50,000 นายในประเทศ “เพื่อให้การแนะนำและฝึกกำลังความมั่นคงอิรักและเพื่อจัดหาข่าวกรองและการตรวจตรา”[43][44] พลเอกเรย์ โอเดียร์โน ผู้บัญชาการระดับสูงสหรัฐในอิรัก กล่าวว่า เขาเชื่อว่าทหารสหรัฐทั้งหมดจะออกจากประเทศภายในสิ้นปี พ.ศ. 2554[45] ขณะที่กำลังสหราชอาณาจักรยุติปฏิบัติการรบเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 นายกรัฐมนตรีอิรัก นูรี อัล มาลีกี ได้กล่าวว่า เขาสนับสนุนการเร่งถอนกำลังสหรัฐ ในการปราศรัยที่ห้องประชุมรูปไข่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โอบามาประกาศ “ภารกิจการรบของอเมริกาในอิรักได้ยุติลงแล้ว

ปฏิบัติการเสรีภาพอิรักสิ้นสุดแล้ว และชาวอิรักจะเป็นผู้นำความรับผิดชอบต่อความมั่นคงในประเทศของตน”[48] เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ชื่อปฏิบัติการการมีส่วนพัวพันในอิรักของอเมริกาเปลี่ยนจาก “ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก” เป็น “ปฏิบัติการอรุณใหม่” ทหารสหรัฐอีก 50,000 นายที่ยังคงอยู่ ปัจจุบันถูกกำหนดให้เป็น “กองพลน้อยแนะนำและสนับสนุน” ซึ่งมอบหมายไปยังปฏิบัติการไม่เกี่ยวข้องกับการรบ แต่ยังสามารถเปลี่ยนกลับไปปฏิบัติการรบได้หากจำเป็น กองพลน้อยการบินรบสองกองพลน้อยยังคงอยู่ในอิรักเช่นกัน[49] เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 แอสโซซิเอตเพรสออกบันทึกภายในซึ่งเตือนผู้สื่อข่าวของตนว่า “การสู้รบในอิรักยังไม่สิ้นสุด” และ “กำลังสหรัฐยังมีส่วนในปฏิบัติการรบใกล้ชิดกับกองทัพอิรัก แม้ทางการสหรัฐจะว่า ภารกิจสู้รบของอเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ”

 

บทความแนะนำ